New Normal คืออะไร ? ไปทำความรู้จักกับคำว่า New Normal
ทำความรู้จักศัพท์คำว่า New Normal
และแล้วพวกเราทั้งหลายก็ได้ก้าวมาถึงยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งส่วนพฤติกรรมส่วนบุคคล ครอบครัว สังคม รวมไปถึงสภาพแวดล้อม อย่างฉับพลัน อันเนื่องมาจากโรคอุบัติใหม่ หลายคนคงจะเริ่มคุ้นเคยกับศัพท์คำว่า New Normal กันแล้ว หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า คำนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว วันนี้เราลองมาหาคำตอบดูว่า ความหมายของ New Normal ในอดีตกับปัจจุบัน และการเรียนรู้วิถีชีวิตใหม่เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น ที่สำคัญเพื่อการปรับตัวดำเนินชีวิตเป็นปกติบนพื้นฐาน New normal
ประวัติความเป็นมาของคำว่า New Normal
New Normal ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยบิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาวอเมริกัน โดยตอนนั้นเขาใช้อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่างปี 2007-2009
สาเหตุที่ต้องใช้คำว่า “New Normal" เพราะเดิมทีวิกฤติเศรษฐกิจจะมีรูปแบบค่อนข้างตายตัวและเป็นวงจรเดิม คือเมื่อเศรษฐกิจเติบโตไปได้ช่วงระยะหนึ่ง จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจ และหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่นานเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว แล้วก็กลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้ง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ จนเรียกได้ว่าเป็น ‘เรื่องปกติ’ (Normal) ก็ได้
แต่หลังจากการเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลายคนมองว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ดีเหมือนเดิม ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไป ทั้งที่หลายประเทศมีหนี้สาธารณะสูงมาก การยืมเงินจากอนาคต เพื่อแลกกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในวันนี้ จะส่งผลให้เติบโตได้ลดลงในอนาคต ดังนั้นคำว่า “New Normal" จึงถูกนำมาใช้เพื่อพูดถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลงและคาดว่าจะไม่กลับมาเติบโตในระดับเดิมได้อีกต่อไป
โควิด-19 กับ New Normal
ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในแง่การพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้เผชิญวิกฤติมาหลายครั้ง แต่โควิด-19 ถือปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล เพราะเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรุนแรงในระยะสั้น และหลายพฤติกรรมจะอยู่ถาวรกลายเป็น New Normal ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์กรกำลังศึกษาอยู่
เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เรายังไม่รู้จักมาก่อน ส่งผลต่อวิถีชีวิต การทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน การเกิดขึ้นและการดำเนินโควิด-19 ครั้งนี้ จึงเป็นสถานการณ์ที่หลายคนคาดว่าคงจะยาวนานพอสมควร จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในหลายพฤติกรรมของผู้คน ความไม่แน่นอนและการคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ ประกอบกับการได้รับข้อมูลข่าวสารถึงผลกระทบต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเครียด ความกลัว ในจิตใจของคนไทยได้ทุกเพศทุกวัย
เทรนด์พฤติกรรมแบบ New Normal กับชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย
มีข้อมูลจากเวปป์ไซท์ธรรมนิติ ได้เผยแพร่ข้อมูลการสำรวจของซุปเปอร์โพลและนำเสนอแนวทางชีวิตวิถีใหม่ของคนไทยไว้ มีดังนี้คือ
1. การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีควบคู่กับอินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตมากขึ้น ที่จากเดิมมีมากอยู่แล้ว แต่ในสังคมยุค New Normal สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ในแทบทุกจังหวะชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การเรียนออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การประชุมออนไลน์ การซื้อสินค้าออนไลน์ การทำธุรกรรม และการเอ็นเตอร์เทนชีวิตรูปแบบต่างๆ อย่างดูหนัง ฟังเพลง การสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน M Food หรือแบ่งปันเรื่องราวให้เพื่อน ๆ ได้เข้ามาศึกษากันผ่านหน้าเว็บ https://www.mfoodservice.com
แม้กระทั่งการสั่งอาหารในร้านก็ต้องเปลี่ยนจากแผ่นพับหรือกระดาษมาเป็นการสแกน QR Code คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีสแกน QR Code ดูเมนูอาหาร
หรือผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถสร้าง QR Code สำหรับสแกนเมนูอาหารได้เอง คลิกทีนี่เพื่อดูวิธีสร้าง QR Code เมนูอาหาร
2. การเว้นระยะห่างทางสังคม
ผู้คนในสังคมจะเห็นความสำคัญของการเว้นระยะห่างที่เป็นแนวทางการใช้ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19 และจะดำเนินชีวิตแบบนั้นต่อไป โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพเพิ่มขึ้น และใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการสื่อสารและการใช้ชีวิต ลดการปฏิสัมพันธ์ การไปในสถานที่สาธารณะ และเน้นการทำกิจกรรมที่บ้านมากขึ้น
3. การดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตัวเองและคนรอบข้าง
โดยเกิดความคุ้นชินจากช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องดูแลด้านสุขภาพและความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ดังนั้นพฤติกรรมการใช้หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ และการล้างมืออย่างถูกวิธี และหมั่นสังเกตตัวเองเมื่อไม่สบายจะยังคงมีต่อไป รวมถึงการหันมาใส่ใจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการทำประกันสุขภาพจะมีแนวโน้มมากขึ้น
4. การสร้างสมดุลชีวิต
การมีโอกาสได้ทำงานที่บ้าน ลดจำนวนวันการเข้าออฟฟิศ หรือการลดการพะปะผู้คนในสังคม แล้วหันมาใช้ชีวิต และทำงานที่บ้าน ทำให้ผู้คนมองเห็นแนวทางที่จะสร้างสมดุลชีวิตระหว่างอยู่บ้านมากขึ้น และจะเป็นแนวทางในการปรับสมดุลชีวิตระหว่างเวลาส่วนตัว การงาน และสังคมให้สมดุลมากยิ่งขึ้น
แนวทางการปรับตัวพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
ในสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น หากภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ภาครัฐ หรือส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ล้วนต้องปรับตัว อย่างไรก็ตามทุกปัญหามีทางออกเสมอ และทุกอย่างเชื่อว่ายังมีโอกาสไปต่อได้ มีแนวทางจากองค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งดูเหมือนจะปรับตัวได้เร็วได้นำเสนอแนวทางเพื่อเป็นไอเดีย โดย 4 แนวทางที่จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น หลังจบโควิด-19 ประกอบด้วย
1. การเร่งปรับตัวช่องทาง Offline to Online ในธุรกิจที่มีช่องทางขายออฟไลน์ต้องมองช่องทางออนไลน์เข้ามาเพิ่มเติม เพราะท้ายที่สุดหลังจบโควิ-19 การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จะกลายเป็นพฤติกรรมติดตัวผู้บริโภค ส่วนด้านสุขภาพ นอกจากการติดต่อสื่อสาร ให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์แล้ว การบริการสุขภาพผ่านช่องทางดังกล่าวน่าจะได้รับความสนใจต่อผู้คนในสังคมมากยิ่งขึ้น
2. การขยายพื้นที่เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ในด้านเศรษฐกิจที่เห็นชัดตอนนี้ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมาคือ ผู้ให้บริการ food aggregator เพราะเป็นโอกาสเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ จากพฤติกรรมสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่เป็น New Normal จากนี้ไปเราคงจะเห็นบริการด้านสุขภาพมีเดลิเวอรี่มากขึ้นเช่นเดียวกัน
คลิกที่นี่ เพื่อดูวิธีสร้างร้านอาหารสำหรับให้บริการ Delivery
คลิกที่นี่ เพื่อดูวิธีการสั่งอาหารให้มาส่งที่บ้าน
3. พัฒนาโลจิสติกส์ จากการเรียนรู้ในพฤติกรรมผู้บริโภคในสถานการณ์โควิด-19 หากโลจิสติกส์ส่งช้า จะเป็นปัญหาต่อการเติบโตของธุรกิจเดลิเวอรี่
4. ขยายแพลตฟอร์ม Social Media ของแต่ละธุรกิจให้เข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ใช้งานได้สะดวก เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตและค้าปลีก ต้องใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มโซเชียล มีเดียให้มากที่สุด
และ แอพ M Food Service แอพสำหรับสั่งอาหารกับไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแอพสั่งอาหาร
แอพพลิเคชั่นสำหรับสั่งอาหาร
เป็นแอพฯสั่งอาหารและแอพฯที่มีการแบ่งปันเรื่องราวทั้งบทความสุขภาพและอาหาร เช่น บทความนี้ "ฝากบอก.. ให้รู้ไว้เมนูง่ายๆ คงไว้ความอร่อยเหนือ เมื่อได้มาเยือนเมืองสตูล"
ซึ่งเป็นการสร้าง Stories และให้ความรู้เกี่ยวกับก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น ทำให้ใคร ๆ ได้อ่านแล้วอยากลองเข้าไปทาน เป็นการบ่งบอกว่าสังคมยุคใหม่ ใคร ๆ ก็สามารถแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ผ่าน M Food Service ได้ง่าย ๆ เพี่ยงแค่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกแล้วโพสบทความได้เลย
บริการสุขด้านสุขภาพจิตยุคโควิด-19
1. พัฒนาแอพพลิเคชั่นสุขภาพจิตสำหรับประชาชน
กรมสุขภาพจิตในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองเชิงรุกให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ New Normal หลายอย่าง เพื่อตอบโจทย์ตอบสนองพฤติกรรมบุคคลและสังคมไทย ปรับบริการให้มีรูปแบบหลากหลาย โดยเฉพาะบริการออนไลน์ หรือ e-services ทั้งนี้สามารถหาได้จากเวปไซท์กรมสุขภาพจิต www.dmh.go.th วันนี้ขอนำเสนอเป็นตัวอย่าง โดยเป็นแอพพลิเคชั่นกรมสุขภาพจิต สำหรับประชาชน ซึ่งมีทั้งหมด 5 แอพพลิเคชั่น สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้ค่ะ https://www.dmh.go.th/apps/ โดยตัวอย่างแอพพลิเคชั่นดังกล่าว อาทิเช่น
1.1 แอพ Smile Hub
รวบรวมข้อมูลความรู้ที่ง่ายต่อความเข้าใจ รวมถึงแบบประเมินทางสุขภาพจิตที่สามารถทำและประเมินผลได้ออนไลน์ รวมถึงคำแนะนำความรู้ทางสุขภาพจิตเพื่อนำไปใช้ในการดูแล ปรับปรุงและพัฒนาอารมณ์ ความคิด สุขภาพจิตของตนและคนใกล้ชิดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน
1.2 แอพค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น
เป็นแอพพลิเคชั่นเพื่อการค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ได้พัฒนาสื่อ Application ชุด “ค้นพบความสุขกับลูกวัยรุ่น” เพื่อให้พ่อแม่สามารถเข้าถึงความรู้การเลี้ยงดูลูกหลานวัยรุ่นในสังคมปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ผ่านช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย และสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้
1.3 แอพ CAMHS-Aid
เป็นแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบุคคลากรในสถานพยาบาลในการวินิจฉัยอาการทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น อันเป็นผลจากการค้นคว้าและวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
1.4 แอพ Sabaijai
แอปพลิเคชัน Sabaijai (สบายใจ) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการประเมินสภาวะทางด้านจิตใจของบุคคลว่ามีภาวะที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือไม่ โดยมีแบบคัดกรองให้ทำเพื่อประเมิน ภายในแอปพลิเคชันมีคำแนะนำที่จำแนกตามความเหมาะสมกับเพศและอายุ โดยอายุแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ 15-24 ปี อายุ 25-59 ปี และอายุ 60-65 ปี
1.5 แอพ Mental Health Check-up
2 บริการ e-Services
2.1 โควิด-19 กับสุขภาพจิต
โดยในช่วงระบาดรุนแรงที่ผ่านมานั้น กรมสุภาพจิตได้พัฒนาองค์ความรู้สำหรับบริการ e-services ให้สอดคล้องกับปัญหาการปรับตัวในช่วงระบาดของโควิด-19 หลายอย่าง เพื่อบรรเทาภาวะเครียด วิตกกังวลของประชาชนให้บรรเทาลงด้วยตัวเองในช่วงกักตัวที่บ้าน ท่านสามารถเข้าศึกษาได้จากลิงก์ โควิด-19 กับสุขภาพจิต จากหน้าแรกของเวปป์กรมสุขภาพจิตได้เลยค่ะ มีตัวอย่างแนะนำ อาทิ การบริการทางจิตแบบชี่กง เทคนิคการหายใจคลายเครียด ห่างกันสักพักแต่รักกันเหมือนเดิม เป็นต้น
2.2 จองคิวออนไลน์ (สำหรับผู้เคยใช้บริการในหน่วยงานของกรมสุขภาพจิตแล้ว)
2.3 รับยาใกล้บ้าน
2.4 แบบประเมินด้านสุขภาพจิต ให้ท่านผู้อ่านได้ประเมินตนเองเบื้องต้น ก่อนเข้ารับบริการด้านสุขภาพจิตจากหน่วยงานของกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างที่กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการบริการเชิงรุกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และกำลังจะมีบริการใหม่ๆอีกหลายรายการที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี่ค่ะ https://www.dmh.go.th
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก กรมสุขภาพจิต
ป้ายกำกับ : New Normal พฤติกรรม สุขภาพ COVID19
หมวดหมู่ ขั้นตอนการใช้งาน ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ท่องเที่ยว บ้านและสวน มาตรฐาน ร้านอาหาร รีวิวร้านอาหาร วัตถุดิบประกอบอาหาร สุขภาพ อาหาร เกษตร เครื่องดื่ม โปรแกรมร้านอาหาร โปรโมชั่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
โพสโดย : M Food
อ่านวิธีลงบทความของคุณได้คลิกที่นี่
บทความสุขภาพที่คุณอาจสนใจ
อาหารมีวิตามินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโควิด
01/09/2021 10:07:36
เอมิสมาร์คเต้าหู้
03/07/2021 08:02:54
เอมิส มาร์คเต้าหู้กลูต้า
16/06/2021 10:26:49
กินทุเรียนอย่างไรให้เหมาะสมเมื่อทุเรียนให้พลังงานสูง ย้ำควรกินไม่เกิน 2 เม็ดต่อวัน
30/05/2021 17:35:04
ร้านอาหารที่คุณอาจสนใจ

Check in please
Delivery กาแฟสดและเครื่องดื่มมากมาย อาหารจานเดียว ขนมทานเล่น อาหารอร่อย สด สะอาด ปรุงใหม่ทุกจาน ไม่ใส่ผงชูรส เปิด 24ชม.

Chicken Finn
ข้าวมันไก่ ข้าวหมูกรอบ ข้าวหมูแดง Rice steamed with chicken soup, Crispy Pork Rice, Red Beef Rice 海南鸡饭、香脆肉丝饭、红牛肉饭